ผังงาน (Flowchart)
ผังงาน (Flowchart) คือการเขียนอธิบายการทำงานของโปรแกรมในลักษณะสัญลักษณ์ รูปภาพ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าการอธิบายเป็นข้อความและเห็นลำดับขั้นตอน (Algorithm) การทำงานของโปรแกรมอย่างชัดเจน เมื่อเจอโจทย์ที่ให้แก้ปัญหาที่ซับซ้อนมาก ก็จะทำให้การเขียนอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหายากตามไปด้วย แต่การเขียนอธิบายด้วยผังงานทำให้การอธิบายง่ายขึ้นและมีความเป็นมาตรฐานมีการใช้งานทั่วไป ใครที่เคยศึกษาผังงานมาก็จะเข้าใจผังงานที่เราเขียน ที่สำคัญเราต้องเขียนสัญลักษณ์ต่างๆของผังงานให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน สัญลักษณ์ของผังงาน (Flowchart Symbols) ตัวอย่างการใช้ผังงาน (Flowchart) 1. แบบลำดับ (Sequence Process)รูปแบบ | ตัวอย่าง | อธิบาย |
< เริ่มต้น < อ่านหรือรับค่า x,y < x+y เก็บไว้ในตัวแปร Sum < แสดงค่าในตัวแปร Sum < จบการทำงาน |
2. แบบทางเลือก (Selection) คำสั้่งที่ใช้โครงสร้างแบบทางเลือกได่แก่ if,else และ switch…case
รูปแบบ | ||
1) | 2) | 3) |
< เริ่มต้น < รับค่า A , B < เช็คว่า A มากกว่า B หรือไม่ < - ถ้ามากกว่าแสดงข้อความ “A มากกว่า B” - ถ้าไม่แสดงข้อความ “A น้อยกว่าหรือเท่ากับ B” < จบโปรแกรม |
ยกตัวอย่าง score เท่ากับ 58 58 < 50 ซึ่งเป็นเท็จ ก็จะเช็คเงื่อนไขถัดไป 58 < 60 ซึ่งเป็นจริง ก็จะแสดงข้อความ “เกรด D” จากนั้นโปรแกรมจะวิ่งไปตามเส้นสี และจบการทำงาน สมมติ score = 89 ก็จะไม่เข้าทางเลือกใดๆ เลย(เป็นเท็จตลอดทาง) ก็จะแสดง “เกรด A” และจบการทำงาน |
3. แบบทำซ้ำ (Iteration Statements) คำสั้่งที่ใช้โครงสร้างแบบทำซ้ำได่แก่ for, while, do..while รูปแบบ
for, while | do..while |
< ให้ตัวแปร i มีค่าเท่ากับ 1 < เช็คว่าค่าในตัวแปร i น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 หรือไม่ ถ้าเป็นเท็จก็จบโปรแกรม < ถ้าเป็นจริง Answer = i * 2 < แสดงค่าในตัวแปร Answer < เพิ่มค่าในตัวแปร i ขึ้น 1 |
< รับค่าเก็บไว้ในตัวแปร i < เช็คว่าค่าในตัวแปร i เท่ากับ 69 หรือไม่ - ถ้าไม่เท่ากับ(จริง) จะแสดงข้อความ “ไม่เท่ากับ” และให้กลับไปรับค่าใหม่ - ถ้าเท่ากับ (เท็จ) แสดงข้อความ “ถูกต้อง” และจบโปรแกรม |
ทุกคำสั่งที่มีการเช็คเงื่อนไขจะทำก็ต่อเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง (true) เท่านั้น เช่น if else, for, while, do..while