ภาษาคอมพิวเตอร์

1/31/2555 0 Comments

     Java,C,pascal,programming
             ในบทความนี้จะพูดถึงภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายภาษาแต่ละภาษามีความแตกต่างกัน ภาษาคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายระดับ โดยระดับต่ำสุดเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ จะต้องเป็นคนที่เชี่ยวชาญเรื่องคอมพิวเตอร์อย่างมากจึงจะเข้าใจ จนมนุษย์พัฒนารูปแบบภาษาขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ และมีการแบ่งเป็นระดับของภาษา ยิ่งระดับสูงยิ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ทำให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นมากมาย ระดับของภาษามีดังนี้
1. ภาษาเครื่อง (Machine Language)
          คำสั่งของภาษาเครื่องประกอบด้วยกลุ่มของตัวเลขฐานสอง (เลข  0 กับเลข 1) เป็นภาษาเดียวเท่านั้นที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้โดยตรง ซึ่งใครจะศึกษาเกี่ยวกับภาษาเครื่อง (Machine Language) จะต้องใช้เวลามาก เพราะต้องเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แต่ละแบบใช้คำสั่งไม่เหมือนกันอีกด้วย เมื่อเปลี่ยนเครื่องที่เป็นระบบอื่นก็ต้องศึกษาการเขียนโปรแกรมกันใหม่เลยทีเดียว ความยากลำบากทั้งหมดนี้จึงมีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ให้ใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้อยู่ โดยไม่จำเป็นจะต้องใช้เวลาศึกษาระบบคอมพิวเตอร์มากนัก
2. ภาษาระดับต่ำหรือภาษาแอสเซมบลี (Low-Language or Assembly)
           ภาษาระดับต่ำ หรือภาษาแอสเซมบลี (Assembly) เป็นภาษาในยุดแรกพัฒนามาจากภาษาเครื่องนั้นเองและมีเพียงภาษาเดียวเท่านั้น รูปแบบของภาษาแอสเซมบลีเปลี่ยนมาใช้อักษรมาเรียงเป็นคำ แทนเลขฐานสอง โดยกำหนดให้มีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่ายขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจภาษาแอสเซมบลีได้จึงต้องมีตัวแปลภาษาไปเป็นภาษาเครื่อง คือ แอสเซมเบลอร์ (Assembler) ถึงแอสเซมบลีจะเข้าใจง่ายกว่าภาษาเครื่อง แต่ก็ยังเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ คือ หากจะเขียนโปรแกรมกับระบบที่ใช้หน่วยประมวลผลกลางที่มีสถาปัตยกรรมการออกแบบที่ต่างออกไปก็ต้องเรียนรู้โครงสร้างกันใหม่ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก ทำให้เกิดการพัฒนาภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากยิ่งขึ้น
3. ภาษาระดับสูง (High-level Language) 
              ภาษาระดับสูง เป็นการพัฒนาในยุคต่อมา เป็๋นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรม โดยมุ่งเฉพาะการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหาของงานเท่านั้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงทำให้สามารถนำไปเขียนโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ระบบอื่นๆ ได้โดยแก้ไขคำสั่งเพียงเล็กน้อย ลักษณะของภาษามีความใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เราสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภาษาระดับสูงพัฒนาแข่งกันออกมาหลายภาษา เช่น ภาษาซี(C) ภาษาจาวา(Java) ภาษาฟอร์แทรน (Fortran) ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) เป็นต้น และเช่นเดิมภาษาระดับสูงต้องมีตัวแปลภาษาไปเป็นภาษาเครื่อง คือ เทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) และคอมไพเลอร์ (Compiler) ภาษาระดับสูงนิยมใช้มาถึงปัจจุบัน
java,C,php,programming,เขียนโปรแกรม