ความหมายของโปรแกรม (Program)

2/03/2555 0 Comments

          ก่อนที่จะเขียนโปรแกรมเรามาทำความรู้จักกับคำว่าโปรแกรมเสียก่อนว่ามันคืออะไร มีไว้ทำอะไร มีกี่ประเภทและเราจะได้รู้ว่าเราอยากโปรแกรมประเภทไหนในบทความนี้กันเลย …
โปรแกรม (Program)
          โปรแกรม คือ ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นภาษา C/C++ Java Pascal Basic Assembly หรือแม้กระทั่ง Machine Code ฯลฯ ซึ่งทำหน้าที่สั่งงานหรือควบคุมในส่วนของฮาร์ดแวร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ตามต้องการ โปรแกรมถูกแบบออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
          1.โปรแกรมระบบ (System Program)
          2. โปรแกรมประยุคต์ (Application Program)
โปรแกรมระบบ (System Program)
          เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุม สั่งงาน บริหารจัดการทรัพยากร(Resource หรือ Hardwareนั้นเอง)ต่างๆ ให้สามารถใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานอย่างรวดเร็วและไม่ติดขัดไดๆ เราเรียกโปรแกรมนี้ว่า ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หรือเรียกสั้นๆว่า OS เช่น Microsoft Wndows เวอร์ชันต่างๆ Mac Os X ของ Apple, Unix, Solaris ส่วนบนโมบายก็ Androidม iOS และsymbian เป็นต้น ส่วนรายละเอียดของ OS ไม่ขอพูดถึงนะครับ เพราะมันเยอะ
          ในระบบปฏิบัติการจะมีโปรแกรมตัวหนึ่งที่จะพูดถึงคือ โปรแกรมแปลภาษา(Translator) มีหน้าที่แปลภาษาต่างๆที่มนุษย์เขียนขึ้นตามความถนัดและความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น C/C++ Java Pascal Basic Assembly ฯลฯ ให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Code) เพราะว่าคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจภาษาพวกนี้ ซึ่งภาษาเครื่องเป็นเลขฐานสองเท่านั้น คือ 0 กับ 1 ตัวแปลภาษาสามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภท
          1. แอสเซมเบลอ (assembler)
                   เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลี (assembly) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง
          2. คอมไพเลอร์ (Compiler)
                   เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Java, C/C++, Pascal, Cobol และภาษา Fortran ซึ่งจะแปลคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรมทั้งหมดในคราวเดียวให้เป็นภาษาเครื่อง  ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูล(Folder) หรือไฟล์ (File)
          3. อินเตอร์พรีเตอร์ (interpreter)
              เป็นตัวแปลระดับสูงเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์แต่จะแปลพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่งตลอดไปทั้งโปรแกรม
โปรแกรมประยุกต์ (Application Program)
          เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาจาวา (Java),ภาษาซี (C/C++),ภาษาปาสคาล (Pascal), ภาษาเบสิก (Basic) และFortran เป็นต้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการแบบเฉพาะเจาะจงและทำงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต งานสำนักงาน การทำบัญชี การลงทะเบียน เกมส์ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นโปรแกรมที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงานเป็นทีม
ความหมายโปรแกรม (Program)
แท็กของ Technorati: ,

Download & ติดตั้ง IDE

2/03/2555 0 Comments

            ก่อนเขียนโปรแกรม (Coding) เราต้องรู้ว่าเราจะใช้เครื่องมืออะไรในการเขียนโปรแกรม และที่สำคัญเราควรใช้เครื่องมือนั้นอย่างเชี่ยวชาญ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความถนัด ดังนั้นในบทความนี้จะสอนการใช้เครื่องมือเบื้องต้น
เขียนโปรแกรมภาษา Java

ผังงาน (Flowchart)

2/02/2555 0 Comments

ผังงาน (Flowchart)        คือการเขียนอธิบายการทำงานของโปรแกรมในลักษณะสัญลักษณ์ รูปภาพ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าการอธิบายเป็นข้อความและเห็นลำดับขั้นตอน (Algorithm) การทำงานของโปรแกรมอย่างชัดเจน เมื่อเจอโจทย์ที่ให้แก้ปัญหาที่ซับซ้อนมาก ก็จะทำให้การเขียนอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหายากตามไปด้วย แต่การเขียนอธิบายด้วยผังงานทำให้การอธิบายง่ายขึ้นและมีความเป็นมาตรฐานมีการใช้งานทั่วไป ใครที่เคยศึกษาผังงานมาก็จะเข้าใจผังงานที่เราเขียน ที่สำคัญเราต้องเขียนสัญลักษณ์ต่างๆของผังงานให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน สัญลักษณ์ของผังงาน (Flowchart Symbols) Programming Flowchart ตัวอย่างการใช้ผังงาน (Flowchart) 1. แบบลำดับ (Sequence Process)
รูปแบบ ตัวอย่าง อธิบาย
thai Programming Flowchart thai Programming Flowchart < เริ่มต้น


< อ่านหรือรับค่า x,y


< x+y เก็บไว้ในตัวแปร Sum


< แสดงค่าในตัวแปร Sum


< จบการทำงาน


2. แบบทางเลือก (Selection) คำสั้่งที่ใช้โครงสร้างแบบทางเลือกได่แก่ if,else และ switch…case
รูปแบบ
1) ผังงาน การเขียนโปรแกรม 2) ผังงาน การเขียนโปรแกรม 3) ผังงาน การเขียนโปรแกรม
ตัวอย่าง ทางเลือกแบบ if ..else โปรแกรมเปรียบเทียบค่า A , B
image < เริ่มต้น



< รับค่า A , B



< เช็คว่า A มากกว่า B หรือไม่


< - ถ้ามากกว่าแสดงข้อความ “A มากกว่า B”    
   - ถ้าไม่แสดงข้อความ  “A น้อยกว่าหรือเท่ากับ B”





< จบโปรแกรม
ตัวอย่าง ทางเลือกแบบ if ...else if ..else โปรแกรมคำนวณเกรด
ผังงาน Flowchart
ทางเลือกแบบ if ..else if …else ถ้าหากเป็นจริงแล้วจะไม่เช็คทางเลือกที่เหลือ จะทำแค่อันที่เงื่อนไขเป็นจริงอันแรกอันเดียวเท่านั้่น 
เขียนโปรแกรม เงื่อนไข ยกตัวอย่าง



score เท่ากับ 58


58 < 50 ซึ่งเป็นเท็จ



ก็จะเช็คเงื่อนไขถัดไป 58 < 60
ซึ่งเป็นจริง ก็จะแสดงข้อความ “เกรด D”
จากนั้นโปรแกรมจะวิ่งไปตามเส้นสี และจบการทำงาน









สมมติ score = 89 ก็จะไม่เข้าทางเลือกใดๆ เลย(เป็นเท็จตลอดทาง) ก็จะแสดง “เกรด A” และจบการทำงาน

3. แบบทำซ้ำ (Iteration Statements) คำสั้่งที่ใช้โครงสร้างแบบทำซ้ำได่แก่ for, while, do..while รูปแบบ
for, while do..while
Flowchart Flowchart
ตัวอย่าง โปรแกรมแม่สูตรคูณแม่ 2 ใช้คำสั่ง for หรือ while
Flowchart



< ให้ตัวแปร i มีค่าเท่ากับ 1




< เช็คว่าค่าในตัวแปร i น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 หรือไม่   
ถ้าเป็นเท็จก็จบโปรแกรม

< ถ้าเป็นจริง Answer = i * 2



< แสดงค่าในตัวแปร Answer


< เพิ่มค่าในตัวแปร i ขึ้น 1
โปรแกรม ทายตัวเลขใช้คำสั่ง do..while
ผังงาน Flowchart





< รับค่าเก็บไว้ในตัวแปร i




< เช็คว่าค่าในตัวแปร i เท่ากับ 69 หรือไม่   
    - ถ้าไม่เท่ากับ(จริง) จะแสดงข้อความ “ไม่เท่ากับ”       และให้กลับไปรับค่าใหม่    
    - ถ้าเท่ากับ (เท็จ) แสดงข้อความ “ถูกต้อง”     
และจบโปรแกรม
สรุปการทำงานของ for, while และ do ..while for และ while จะทำงานคล้ายกัน คือ จะเช็คเงื่อนไขก่อนที่จะทำคำสั่งภายใน loop do …while จะทำคำสั่งภายใน loop ก่อนหนึ่่งครั้งถึงจะมาเช็คเงื่อนไข
ทุกคำสั่งที่มีการเช็คเงื่อนไขจะทำก็ต่อเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง (true) เท่านั้น เช่น if else, for, while, do..while